ทักษะวัดชีพจร การวัดสัญญาณชีพ ทักษะพื้นฐานที่คุณควรรู้ | WECARE

สัญญาณชีพ (Vital signs) คือค่าความดันโลหิต (Blood pressure) อุณหภูมิ (Temperature) ชีพจร (Pulse) และการหายใจ (Respiration) ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้การทำงานของร่างกาย การวัดสัญญาณชีพเป็นขั้นตอนสำคัญในการประเมินสภาพผู้ป่วย และเป็นข้อมูลที่ช่วยในการวินิจฉัยและติดตามสภาพของผู้ป่วย

สำหรับความดันโลหิต (Blood pressure) มีค่าปกติที่กำหนดไว้ แต่ควรเปรียบเทียบกับค่าปกติของแต่ละคน ความดันโลหิตในผู้สูงอายุมีค่าที่เปลี่ยนแปลงได้จากกิจกรรมและสภาพจิตใจ การวัดความดันโลหิตต้องกระทำให้ถูกต้องครบถ้วน และควรวัดซ้ำหลายครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าสูงจริง

วิธีการวัดชีพจร

1. ประเมินสภาพผู้ป่วยและแจ้งให้ทราบว่าจะวัดชีพจรให้บอกวัตถุประสงค์และรายละเอียดการวัด

2. เตรียมความพร้อมจัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย หากมีกิจกรรมก่อนการวัดให้พักอย่างน้อย 15 – 30 นาที

3. ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลางคลำที่หลอดเลือด โดยปกติจุดที่ใช้คลำชีพจรอยู่ที่บริเวณข้อมือด้านหน้าที่ร่องด้านนิ้วหัวแม่มือ หรือคลำชีพจรอยู่ที่บริเวณข้อศอกด้านนิ้วก้อย เป็นจุดที่สะดวกเพราะเป็นที่ที่จับได้ง่ายและไม่รบกวนผู้ป่วย

10 พ.ย. 2567, 02:56 น.