วิธีการดูดเสมหะ ผู้ป่วย | WECARE

ป้องกันปอดอักเสบด้วยการดูดเสมหะอย่างถูกวิธี

การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ผู้ที่มีปัญหาทางเดินหายใจ หรือการกลืน การดูแลที่สำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยง และป้องกันการสำลัก ลดปัญหาเรื่องการติดเชื้อ คือการดูดเสมหะเพื่อระบายน้ำลาย และเสมหะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง แต่ด้วยในการดูดเสมหะอาจเกิดภาวะเสี่ยงต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดการขาดออกซิเจน เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน ปอดแฟบ และเกิดการบาดเจ็บของทางเดินหายใจได้ ซึ่งเทคนิคที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันภาวะเหล่านี้ได้

การดูดเสมหะทางปาก

  •  วิธีปฏิบัติ

1. เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม และทดสอบแรงดันของเครื่องดูดเสมหะ

2. ล้างมือให้สะอาด

3. บอกให้ผู้สูงอายุรับทราบ

4. ใส่ถุงมือตรวจโรค หยิบสายดูดเสมหะต่อเข้ากับเครื่อง โดยมือข้างถนัดจับปลายสาย และอีกข้างจับสายระบายเสมหะ ระวังไม่ให้สายยางดูดเสมหะสกปรก หรือสัมผัสกับสิ่งอื่นๆ

5. เปิดเครื่องดูดเสมหะ บอกให้ผู้สูงอายุทราบอีกครั้ง

6. เปิดบริเวณข้อต่อตัววาย (Y - tube) หรือพับสายยางดูดเสมหะนั้นไว้ พร้อมสอดสายยางเข้าช่องปาก ด้วยความนุ่มนวล  

7. ในขณะดูดเสมหะไม่ควรดูดนาน แล้วค่อยๆถอยสายยางดูดเสมหะออกอย่างเบาๆและนุ่มนวล ให้มีช่วงจังหวะหยุดพักให้ผู้สูงอายุได้หายใจหรือได้รับออกซิเจน

8. ระหว่างดูดเสมหะให้สังเกตลักษณะของเสมหะ สี ปริมาณ รวมทั้งสังเกตดูว่ามีสีเลือดปนหรือไม่ สังเกตการหายใจ และสีผิวของผู้สูงอายุ

9. หากผู้สูงอายุเกร็ง หรือมีฟันในช่องปาก สามารถใช้ mouth gag โดยสอดเข้าช่องปากเพื่อนำทางสายยางดูดเสมหะได้ง่าย 

(ขั้นตอนการใส่ mouth gag)

10. เมื่อดูดเสมหะเรียบร้อย ล้างสายยางดูดเสมหะในน้ำสำหรับล้างสาย แล้วเก็บสายยางดูดเสมหะและถุงมือทิ้งถังขยะ

11. ปิดเครื่องดูดเสมหะ

12. จัดท่าผู้สูงอายุให้สุขสบาย สังเกตลักษณะของสีผิว อัตราการหายใจ และอัตราการเต้นชีพจรของผู้สูงอายุ

การดูดเสมหะทางหลอดทางเดินหายใจเทียม (Tracheostomy Tube)

  • อุปกรณ์

  1. เครื่องดูดเสมหะ
  2. สายดูดเสมหะ
  3. ถุงมือสเตอไรด์
  4. น้ำสะอาด
  5. สำลีแอลกอฮอล์
  6. เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ
  • วิธีปฏิบัติ

1. เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม แจ้งให้ผู้สูงอายุทราบ กรณีมีเสมหะมากให้ดูแลเคาะปอดเพื่อไล่เสมหะโดยจัดท่าผู้สูงอายุตะแคงกึ่งคว่ำ

2. ล้างมือให้สะอาด

3. ใส่ถุงมือให้ใช้เป็นแบบถุงมือสเตอไรด์ ระวังไม่ให้สายยางดูดเสมหะสกปรก หรือสัมผัสกับสิ่งอื่นๆ โดยมืออีกข้างจับสายระบายเสมหะ  

(การใส่ถุงมือสเตอไรด์)

4. เปิดเครื่องดูดเสมหะ บอกให้ผู้สูงอายุทราบอีกครั้ง

5. เปิดบริเวณข้อต่อตัววาย (Y - tube) หรือพับสายยางดูดเสมหะนั้นไว้ พร้อมสอดสายยางลงในหลอดหายใจเทียม โดยใส่ให้ลึกจนรู้สึกติด และดึงขึ้นมาเล็กน้อยค่อยๆหมุนสายไปรอบๆ แล้วค่อยๆถอยสายยางดูดเสมหะออกอย่างเบาๆและนุ่มนวล

6. การดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่เกิน 10 วินาที เมื่อดูดเสมหะครั้งที่ 1 แล้ว ผู้สูงอายุยังมีเสียงเสมหะอยู่ ให้ผู้สูงอายุหายใจเข้าออกประมาณ 10 วินาที หรือในผู้สูงอายุที่ได้รับออกซิเจน แล้วดูดเสมหะอีกครั้ง

7. ในกรณีที่ผู้สูงอายุมีการเจาะคอ ควรดูดเสมหะจากหลอดทางเดินหายใจเทียมก่อน แล้วจึงดูดเสมหะในปากต่อ

8. เมื่อดูดเสมหะเรียบร้อยจนทางเดินหายใจโล่ง ล้างสายยางดูดเสมหะในน้ำสำหรับล้างสาย แล้วเก็บสายยางดูดเสมหะและถุงมือทิ้งถังขยะ

9. ปิดเครื่องดูดเสมหะ

10. จัดท่าผู้สูงอายุให้สุขสบาย สังเกตลักษณะของสีผิว อัตราการหายใจ และอัตราการเต้นชีพจรของผู้สูงอายุ

ข้อควรระวัง

1. แรงดันของเครื่องดูดเสมหะที่ใช้ในการดูดเสมหะค่าที่เหมาะสม ประมาณ 80-150 มิลลิเมตรปรอท ถ้าสูงกว่านี้จะทำให้ปอดแฟบ เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน อาจเกิดการบาดเจ็บของเยื่อบุทางเดินหายใจได้

2. ดูดเสมหะเมื่อจำเป็น คือ ทำเมื่อมีอาการไอ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงเสมหะ ความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำกะทันหัน

3. กรณีเสมหะไม่มาก หรือต้องการดูน้ำลายอย่างเดียวอาจจะใช้หลอดดูดน้ำลายแทนสายดูดเสมหะ  

4. การเพิ่มออกซิเจนให้กับผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการดูดเสมหะ เนื่องจากในขณะดูดเสมหะจะก่อให้เกิดภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน

5. เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุขณะดูดเสมหะ เช่น การเต้นของหัวใจ อาการซีด หอบเหนื่อย ความเข้มข้นของออกซิเจน เป็นต้น

 

10 พ.ย. 2567, 02:55 น.